แนะนำ (RECOMMENDATION)

ใครอยากได้เนื้อหาเกี่ยวกับอะไรที่เกี่ยวข้องกับ ความปลอดภัย และงานสิ่งแวดล้อม ฝากข้อความไว้ได้ในหน้า แนะนำ ติชม นะคะ จะพยายามมาอัพข้อมูลให้ค่ะ

การป้องกันอันตรายจากวัตถุอันตราย

ระบบเอกสาร

ผู้ที่เกี่ยวข้องในการปฎิบัติงาน ต้องได้รับข้อมูลเกี่ยวกับ วัตถุอันตรายอย่างถูกต้อง

เอกสารที่เกี่ยวกับวัตถุอันตราย ที่นิยมใช้กัน ได้แก่ Material Safety Data Sheet (MSDS)

หรือเรียกอีกชื่อหนึ่ง คือ Product Data sheet ซึ่งเป็นเอกสาร ที่จัดทำข้อเพื่อผลิตภัณฑ์ แต่ละชนิด

โดย ระบุคุณสมบัติ ทางกายภาพ, เคมี และชีวภาคของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า

ข้อมูลที่สำคัญๆ ในเอกสารดังกล่าว ถูกแจกจ่ายให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง อย่างทั่วถึง ในเวลาที่เหมาะสม



การปิดฉลาก และเครื่องหมายวัตถุอันตราย

มีมาตรการบังคับ ให้ปิดฉลาก หรือเครื่องหมาย บนหีบห่อภาชนะบรรจุ และพื้นที่จัดเก็บให้ชัดเจน คู่มือการปฏิบัติงานสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือคู่มือการปฏิบัติงานกับวัตถุอันตรายแต่ละชนิด

(คู่มือเคมีหรือผลิตภัณฑ์) และคู่มือวิธีการปฏิบัติงานกับวัตถุอันตรายแต่ละประเภทที่มีคุณสมบัติความเป็นอันตรายคล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปคู่มือฯเหล่านี้จัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานรู้ขั้นตอนการควบคุมและดูแลเคมีหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นวัตถุอันตรายนั้น

คู่มือฯควรง่ายต่อการทำความเข้าใจ อาจมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรมีทั้งคำอธิบายและภาพประกอบ ต้องจัดเก็บไว้ในคลังหรือสถานที่ที่หยิบใช้ได้ง่ายสะดวก ผู้ปฏิบัติงานต้องใช้คู่มือฯเหล่านี้เป็นแนวทางในการทำงานประจำของตนเอง ข้อมูลในคู่มือฯต้องถูกต้องและละเอียดชัดเจน

สิ่งสำคัญที่ต้องการให้ปฏิบัติต้องอธิบายโดยใช้คำว่า “ ต้อง”

สิ่งที่ห้ามปฏิบัติต้องอธิบายโดยใช้คำว่า “ ห้าม”



เครื่องหมายความปลอดภัยต่าง ๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์จำเพาะสำหรับกิจกรรม สถานการณ์ และส่วนของข้อมูล หรือข้อปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย หรือสุขอนามัยในการทำงาน โดยใช้สีหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ดังนี้
ก. เครื่องหมายห้าม หมายถึง ห้ามการปฏิบัติงานอันอาจก่อให้เกิดอันตราย


ข. เครื่องหมายเตือน หมายถึง ให้ระวังภัยหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้น

ค. เครื่องหมายบังคับ หมายถึง ต้องปฏิบัติตาม

ง. เครื่องหมายทางหนีภัยหรือปฐมพยาบาลเบื้องต้น หมายถึง ให้ข้อมูลเกี่ยวกับทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟ การปฐมพยาบาล หรืออุปกรณ์กู้ภัยต่าง ๆ

จ. ป้ายข้อความ หมายถึง ป้ายให้ข้อมูลนอกจากที่กล่าวมาข้างบนนี้
ฉ. สีที่ใช้ มีความหมายแตกต่างกันตามสีนั้น ๆ ได้แก่


สีแดง ใช้เมื่อมีวัตถุประสงค์ “ ห้าม”

สีเหลือง ใช้เมื่อมีวัตถุประสงค์ “ เตือน”

สีน้ำเงิน ใช้เมื่อมีวัตถุประสงค์ “ บังคับให้ปฏิบัติตาม”

สีเขียว ใช้เมื่อมีวัตถุประสงค์ “ บอกทางหนีภัยต่าง ๆ”


การดำเนินการต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ
สายการบังคับบัญชาต้องชัดเจน มีระเบียบปฏิบัติที่เขียนไว้ เป็นลายลักษณ์อักษร

โดยให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับ-ข้อแนะนำการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยต่างๆ

-ข้อแนะนำในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย และถูกสุขลักษณะ

-ข้อแนะนำในการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

-ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดเก็บวัตถุอันตราย


การปฏิบัติงานประจำวัน

ผู้ปฏิบัติต้องสวมใส่ เครื่องป้องกันภัย ส่วนบุคคล ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน

การเลือกประเภท ของอุปกรณ์นั้น ควรเลือกให้เหมาะสมกับ ลักษณะงานสำหรับ

อุปกรณ์ฉุกเฉินอื่นๆ ต้องมีไว้ บริเวณทางเข้า-ออก ที่สามารถหยิบได้โดยง่าย

อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล ขั้นพื้นฐานประกอบด้วย
ก.) รองเท้านิรภัย ข้อกำหนดทั่วไปของรองเท้านิรภัยควรทำจากหนัง ภายในมีรองพื้นหนา 2 มิลลิเมตร และรองพื้นชั้นที่ทนต่อเคมี น้ำมัน ทนไฟ อาจมีรองพื้นที่เป็นชั้นเหล็กบางตามความจำเป็น พื้นด้านนอกต้องไม่เลื่อน ทนต่อสารเคมีโดยเฉพาะกรด และเป็นฉนวนสามารถป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตได้ด้วย หัวรองเท้าต้องเป็นหัวเหล็กนิรภัยเพื่อป้องกันเท้าจากสิ่งของที่หนักหล่นสู่พื้น

ข.) ชุดปฏิบัติงาน ข้อกำหนดทั่วไปของชุดปฏิบัติงานควรทนต่อฝุ่นละออง และติดไฟได้ยาก สามารถปกป้องร่างกาย แขนและขาจากสารเคมี ชุดปฏิบัติงานที่เหมาะสมขึ้นกับความเสี่ยงของการปฏิบัติงาน เช่น หากการปฏิบัติงานมีความเสี่ยงต่อการติดไฟสูง วัสดุที่ใช้ทำชุดปฏิบัติงานต้องเป็นประเภททนไฟได้ในระยะเวลาหนึ่ง เป็นต้น วัสดุของชุดฯต้องทนต่อของเหลว เพื่อไม่ให้ของเหลวซึมผ่านเข้าได้ง่าย

ค.) หมวกนิรภัย ข้อกำหนดทั่วไปของหมวกนิรภัยต้องทนต่อแรงกระแทก มีขนาดเหมาะสมกับขนาดและรูปศีรษะของผู้สวมใส่ หมวกนิรภัยเป็นอุปกรณ์สำคัญใช้ป้องกันศีรษะจากสิ่งของที่อาจตกหล่นลงมา โดยทั่วไปหมวกนิรภัยมี 2 ชนิด คือ หมวกนิรภัยที่ทำจากพลาสติก อายุการใช้งาน 5 ปี หากพลาสติกเสื่อมสภาพอันเนื่องจากความร้อนหรือแสงแดดต้องเลิกใช้งานทันที อีกประเภทคือหมวกนิรภัยที่ทำจากไฟเบอร์

ง.) แว่นตานิรภัย ข้อกำหนดทั่วไปของแว่นตานิรภัย ต้องเบา ทำความสะอาดง่าย กระจกของแว่นตานิรภัยต้องไม่เกิดการเบี่ยงเบนของภาพที่เห็น ไม่มีมุมจำกัด ไม่มีแสงสะท้อน ไม่เป็นฝ้าง่าย และทนต่อสารเคมี แว่นตานิรภัยใช้ปกป้องดวงตาจากไอระเหย ผงฝุ่นหรือของแข็ง ควรเลือกชนิดของแว่นตานิรภัยให้เหมาะสมกับสารเคมีที่ปฏิบัติงานด้วย
จ.) ถุงมือ สำหรับการขนถ่าย เคลื่อนย้ายสินค้าหรือการปฏิบัติงานกับสารเคมีข้อกำหนดทั่วไปของถุงมือต้องป้องกันการซึมผ่านของสารเคมีได้ และทนต่อสารเคมี ถุงมือใช้เพื่อปกป้องมือในระหว่างการปฏิบัติงาน ถุงมือมีหลายชนิดตามลักษณะการใช้งาน เช่น ถุงมือใช้สำหรับการปฏิบัติงานจัดเก็บ ขนถ่าย และเคลื่อนย้ายสินค้า อาจเป็นถุงมือที่มีคุณสมบัติช่วยปกป้องกันมือจากการถลอก หรือบีบก็เพียงพอแล้ว ในกรณีที่ต้องปฏิบัติงานกับสารเคมีอันตราย ถุงมือต้องมีคุณสมบัติทนต่อสารเคมีและป้องกันการซึมผ่านของของ เหลวได้ดีด้วย

การจัดสถานที่ทำงาน

ต้องอยู่ในสภาพเรียบร้อย เป็นระเบียบ สะอาด อุปกรณ์ต่างๆ อยู่ในสภาพ พร้อมใช้งาน ตลอดเวลา การดูแลสถานที่ สุขลักษณะของคลังเก็บวัตถุอันตราย และการดูแลรักษาความสะอาด เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ และถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของโรงงานอุตสาหกรรมเคมี

โดยทั่วไป

* ควรทำความสะอาดในคลังสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง

* สภาพของคลังจัดเก็บที่ดี

* ควรมีพื้นที่สะอาดและแห้ง

* มีร่องระบายน้ำปราศจากสิ่งอุดตัน

* มีการจัดวางอย่างเป็นระเบียบ ทางผ่านสำหรับลำเลียงไม่ควรมีสิ่งกีดขวางที่อาจเกิดอันตราย เช่น เศษไม้ * ควรจัดเตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาดให้เหมาะสมกับขนาดของพื้นที่ หากเกิดการหกหล่นของสารเคมีสามารถทำความสะอาดได้ทันทีเพื่อลดและป้องกันการปนเปื้อน

* มีการจัดเตรียมภาชนะ บรรจุเพื่อกอบกู้ที่เหมาะสมกับสารเคมีนั้น ๆ และจัดวางในที่ที่เหมาะสมและปลอดภัย ขยะหรือของที่ไม่ต้องการ หรือของเสียอันตรายต้องมีการจำกัดอย่างเหมาะสม


การตรวจสอบพื้นที่จัดเก็บสินค้าในคลัง

ต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ ผู้ตรวจต้องทำการบันทึกให้ใกล้เคียงกับสภาพการจัดเก็บจริงให้มากที่สุด ต้องจัดส่งบันทึกการตรวจสอบให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบภายใน 2 วัน หลักการตรวจสอบ พร้อมเสนอข้อควรแก้ไขปรับปรุงไว้ด้วย

การตรวจสอบครั้งต่อไป ควรดำเนินการหลังจากการตรวจสอบครั้งแรกประมาณ 10 วัน หากยังไม่มีการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องจากการตรวจครั้งแรกต้องทำบันทึกเตือนอีกครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น