แนะนำ (RECOMMENDATION)

ใครอยากได้เนื้อหาเกี่ยวกับอะไรที่เกี่ยวข้องกับ ความปลอดภัย และงานสิ่งแวดล้อม ฝากข้อความไว้ได้ในหน้า แนะนำ ติชม นะคะ จะพยายามมาอัพข้อมูลให้ค่ะ

ภาชนะบรรจุวัตถุอันตราย (The packaging for hazardous materials)

ภาชนะบรรจุสำหรับวัตถุอันตราย แบ่งออกเป็น
1) ภาชนะบรรจุหรือบรรจุภัณฑ์ (packaging) หมายถึง ภาชนะปิด และองค์ประกอบอื่น ๆ หรือวัสดุที่จำเป็น เพื่อให้ภาชนะปิดทับ สามารถทำหน้าที่ปกปิดสิ่งที่บรรจุอย่างมิดชิด

แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามความเป็นอันตรายของสาร
กลุ่มการบรรจุที่ I - สารที่มีความเป็นอันตรายมาก

กลุ่มการบรรจุที่ II - สารที่มีความเป็นอันตรายปานกลาง
กลุ่มการบรรจุที่ III - สารที่มีความเป็นอันตรายน้อย



รหัสของภาชนะบรรจุ
1A1 / X / 250 / 89 / S / SR 319

ถังที่ทำด้วยเหล็ก ด้านบนมีช่องสำหรับเปิด สามารถทนแรงดันได้ 250 kPa

ความหมายของรหัส
1A1 หมายถึง รหัสแทนชนิดของตัวภาชนะ
X " กลุ่มการบรรจุ

250 " แรงดันที่สามารถทนทานได้
89 " ปีที่ผลิต
S " ประเทศที่ทำการทดสอบ
SR 319 " หมายเลขเฉพาะของสถาบันตรวจสอบมาตราฐาน


2) IBCs (Intermediate Bulk Containers) หมายถึง บรรจุภัณฑ์ที่คงรูป หรือยืดยุ่นสามารถเคลื่อนย้ายได้ และมีคุณสมบัติดังนี้
· ความจุ(i) ไม่เกิน 3.0 ลูกบาศก์เมตร (3,000 ลิตร) สำหรับของแข็งและของเหลวในกลุ่มบรรจุที่ II และ III;(ii) ไม่เกิน 1.5 ลูกบาศก์เมตร สำหรับของแข็งในกลุ่มการบรรจุที่ I เมื่อบรรจุใน IBCs ที่ทำจาก พลาสติกคงรูป วัตถุประกอบ แผ่นไฟเบอร์ และไม้;(iii) ไม่เกิน 3.0 ลูกบาศก์เมตร สำหรับของแข็งในกลุ่มการบรรจุที่ I เมื่อบรรจุใน IBCs ที่เป็นโลหะ;(iv) ไม่เกิน 3.0 ลูกบาศก์เมตร สำหรับวัสดุกัมมันตรังสีประเภทที่ 7
· ได้รับการออกแบบสำหรับขนย้ายด้วยเครื่องจักร
· ผ่านการทดสอบความต้านทานต่อความเค้นที่เกิดจากการขนย้าย และการขนส่ง

รหัสสำหรับระบุประเภทของภาชนะบรรจุ IBCs
11C/X/01 93/S/Aurigny 9876/3000/910
ภาชนะบรรจุไม้สำหรับบรรจุของแข็ง มีการบุรองภายในและจัดอยู่ในกลุ่มการบรรจุที่ I สำหรับของแข็ง
ความหมายของรหัส
11 หมายถึง ประเภทของภาชนะบรรจุ C ” วัสดุที่ใช้
X ” กลุ่มการบรรจุ (เฉพาะ IBCs กลุ่มการบรรจุ Xจะใช้สำหรับบรรจุของแข็งเท่านั้น)
01 93 ” เดือน ปี ที่ทำการผลิต
S ” ประเทศผู้รับรองต้นทางของภาชนะบรรจุ
Aurigny 9876 ” ชื่อหรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิต
3000 ” น้ำหนักที่ใช้ในการทดสอบการวางซ้อนทับ (กิโลกรัม)

(IBCs ที่ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับ การวางซ้อนทับต้องแสดง “O” เอาไว้)
910 หมายถึง มวลรวมสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้ได้ (กิโลกรัม)


3) บรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ (Large packaging) ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ที่ประกอบด้วยบรรจุภัณฑ์ภายนอก ซึ่งบรรจุสิ่งของ หรือบรรจุภัณฑ์ภายใน และโดยที่- ได้รับการออกแบบสำหรับขนถ่ายด้วยเครื่องจักร- มีมวลสุทธิเกิน 400 กิโลกรัม หรือมีความจุเกิน 450 ลิตร แต่มีปริมาณไม่เกิน 3 ลูกบาศก์เมตร

รหัสสำหรับระบุประเภทของภาชนะบรรจุขนาดใหญ่
50A/X/05 96/N/PQRS/2500/1000
บรรจุภัณฑ์เหล็กกล้าขนาดใหญ่เหมาะกับวางซ้อนทับ รับน้ำหนักจากการวางซ้อนทับได้ 2,500 กิโลกรัม มวลบรรจุรวมสูงสุด 1,000 กิโลกรัม

ความหมายของรหัส
50 หมายถึง บรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ที่คงรูป หรือ 51 สำหรับบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ที่ยืดหยุ่น
A ” ชนิดของวัสดุที่ใช้ X ” กลุ่มการบรรจุ
05 96 ” เดือน ปี ที่ทำการผลิต
N ” ประเทศผู้รับรองต้นทางของภาชนะบรรจุ
PQRS ” ชื่อหรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิต
2500 ” น้ำหนักที่ใช้ในการทดสอบการวางซ้อนทับ (กิโลกรัม)
1000 ” มวลรวมสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้ได้ (กิโลกรัม)


4) แท็งก์คอนเทนเนอร์ (Tank Container)
โดยปกติมีขนาด 6 x 2.5 เมตร ปริมาตรบรรจุไม่เกิน 24,000 ลิตร วัสดุที่ใช้ทำ คือ Stainless steel แท็งก์บางชนิดจะมีฉนวนหุ้มหนา ซึ่งทำจาก Polyurethanfoam, Polystyrenefoam, Mineralwall หรือ Fiberglass โดยมีเปลือกนอกที่ทำด้วยโลหะหรือพลาสติกหนาเกินกว่า 1 มิลลิเมตร ความดันภายในแท็งก์ส่วนใหญ่จะประมาณ 100 PSI (6867 Bar)
ประเภทของแท็งก์ แบ่งออกเป็น 7 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1
- มีอุปกรณ์ควบคุมความดัน
- ความดันประมาณ 1.75 Bar
- ใช้สำหรับบรรจุวัตถุอันตรายประเภท 3, 4, 5, 6, 8 และ 9
- มีความจุมากกว่า 450 ลิตร
ประเภทที่ 2
- มีอุปกรณ์ควบคุมความดัน
- ความดันประมาณ 1.0 – 1.75 Bar
- ใช้สำหรับบรรจุวัตถุอันตรายที่มีความเป็นอันตรายไม่มาก ประเภท 3, 4, 5, 6, 8 และ 9
- มีความจุมากกว่า 450 ลิตร
ประเภทที่ 3
- มีความจุมากกว่า 450 ลิตร
ประเภทที่ 4
- มีความจุมากกว่า 1,000 ลิตร
- สำหรับบรรจุก๊าซอัดที่ควบแน่นเป็นของเหลวได้ ประเภทที่ 2 (ไม่ใช่ก๊าซทำความเย็น)
ประเภทที่ 5
- มีความจุมากกว่า 1,000 ลิตร
- สำหรับบรรจุก๊าซอัดที่ควบแน่นเป็นของเหลวได้ ประเภทที่ 2 (ไม่ใช่ก๊าซทำความเย็น)
ประเภทที่ 6
- มีความจุมากกว่า 100 ลิตร
- สำหรับบรรจุก๊าซอัดทำความเย็นประเภทที่ 2
ประเภทที่ 7
- มีความจุมากกว่า 1,000 ลิตร
- สำหรับบรรจุก๊าซอัดทำความเย็นประเภทที่ 2

The packaging for hazardous materials is divided into three categories based on the level of danger of the substances being contained:

  1. Packaging or packagings (1A1) refer to containers and other necessary components or materials used to securely enclose and cover the hazardous materials. They are further divided into three groups based on the level of hazard:
  • Group I packaging: For highly hazardous substances.
  • Group II packaging: For moderately hazardous substances.
  • Group III packaging: For substances with low hazard levels.

The packaging code (1A1/X/250/89/S/SR 319) has the following meanings:

  • 1A1: Represents the code for the type of packaging.
  • X: Indicates the packaging group (I, II, or III).
  • 250: Specifies the maximum pressure the container can withstand (250 kPa).
  • 89: Represents the year of manufacture.
  • S: Indicates the country where the testing was conducted.
  • SR 319: Refers to the specific code of the standards testing institution.
  1. IBCs (Intermediate Bulk Containers) are rigid or flexible containers that can be moved and have specific characteristics. They are categorized based on their capacity, design for mechanical handling, and their ability to withstand the stresses of transportation. The IBC code (11C/X/01 93/S/Aurigny 9876/3000/910) is interpreted as follows:
  • 11: Type of packaging (in this case, for solid materials).
  • C: The material used.
  • X: Packaging group (used for solid materials only).
  • 01 93: Month and year of manufacture.
  • S: The country where the packaging is certified.
  • Aurigny 9876: The name or symbol of the manufacturing company.
  • 3000: The weight used for testing stacking strength (kilograms).
  • 910: The maximum permissible total gross mass (kilograms).
  1. Large packaging refers to containers consisting of an outer packaging enclosing an inner packaging designed for mechanical handling. They have a net mass exceeding 400 kilograms or a capacity exceeding 450 liters but not exceeding 3 cubic meters.

The code for identifying the type of large packaging (50A/X/05 96/N/PQRS/2500/1000) is decoded as follows:

  • 50: Type of large packaging (rigid or flexible).
  • A: The type of material used.
  • X: Packaging group.
  • 05 96: Month and year of manufacture.
  • N: The country that certifies the packaging.
  • PQRS: The name or symbol of the manufacturing company.
  • 2500: Weight used for testing stacking strength (kilograms).
  • 1000: The maximum permissible total gross mass (kilograms).
  1. Tank containers are typically 6 x 2.5 meters in size, with a maximum capacity of 24,000 liters. They are made of stainless steel and may have insulation made of materials like Polyurethane foam, Polystyrene foam, Mineral wool, or Fiberglass. The internal pressure is usually around 100 PSI (6867 Bar).

Tank containers are divided into 7 types:

  • Type 1: Equipped with pressure control devices, used for hazardous materials in different hazard classes.
  • Type 2: Equipped with pressure control devices, used for less hazardous materials in various hazard classes.
  • Type 3: No pressure control devices, capacity greater than 450 liters.
  • Type 4: Capacity greater than 1,000 liters, used for compressed gases other than refrigerated gases in hazard class 2.
  • Type 5: Capacity greater than 1,000 liters, used for compressed gases other than refrigerated gases in hazard class 2.
  • Type 6: Capacity greater than 100 liters, used for refrigerated gases in hazard class 2.
  • Type 7: Capacity greater than 1,000 liters, used for refrigerated gases in hazard class 2.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น