แนะนำ (RECOMMENDATION)

ใครอยากได้เนื้อหาเกี่ยวกับอะไรที่เกี่ยวข้องกับ ความปลอดภัย และงานสิ่งแวดล้อม ฝากข้อความไว้ได้ในหน้า แนะนำ ติชม นะคะ จะพยายามมาอัพข้อมูลให้ค่ะ

การจัดการอุบัติเหตุ (Emergency Response)

การจัดการอุบัติเหตุ (Emergency Response)
Ø  จัดทำแผนปฏิบัติการฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพ
Ø  จัดการให้มีหน่วยกู้ภัยที่มีเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกอบรมอย่างดี
Ø  จัดการให้มีอุปกรณ์ในการกู้ภัยที่เหมาะสม
Ø  จัดการให้มีระบบข้อมูลที่เหมาะสม

แผนปฏิบัติการฉุกเฉิน 
ขั้นตอนการดำเนินการ มีดังนี้
  1.    ระบุบุคคล/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานฉุกเฉิน หน้าที่ และอุปกรณ์
  2.   ประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
  3.   บุคคล/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงแผนปฏิบัติการฉุกเฉินของแต่ละหน่วยงานให้สอดคล้องกันและประสานงานกัน
  4. พิจารณาหน้าที่ความรับผิดชอบอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ในแผนฉุกเฉิน
  5.  กำหนดหน่วยงานที่จะรับผิดชอบในแต่ละหน้าที่
  6. ปรับเปลี่ยนแผนฉุกเฉินในเข้ากับแผนฉุกเฉินของชุมชน และให้ทันสมัยเสมอ
  7.  จัดทำข้อตกลงความร่วมมือกันเป็นลายลักษณ์อักษร
  8. ทำการฝึกอบรมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแผนฉุกเฉินทั้งหมด
  9. ทดสอบประสิทธิภาพของแผนฉุกเฉิน
  10. เผยแพร่แก่ชุมชนใกล้เคียงเกี่ยวกับแผนฉุกเฉิน


แผนปฏิบัติการฉุกเฉินประกอบด้วย
                               1.  การแจ้งเหตุฉุกเฉิน
·         ต้องระบุหมายเลขโทรศัพท์ของบุคคล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน
·         แบ่งระดับอุบัติเหตุ พร้อมคำจำกัดความของระดับต่างๆ ให้ชัดเจน
 =>> ระดับเล็ก ระดับกลาง ระดับใหญ่
·         กำหนดขั้นตอนการแจ้งเหตุและการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับระดับของอุบัติเหตุ
·         สำหรับคลังที่มีวัตถุอันตรายที่มีความเสี่ยงสูง อาจติดตั้งโทรศัพท์ฉุกเฉิน ที่ติดต่อหน่วยดับเพลิงโดยตรง
2                                           2.  แผนอพยพ
·         กำหนดจุดรวมพลให้ผู้ปฏิบัติงานมารวมกันเมื่อมีการอพยพออกจากอาคาร
=>> ตรวจสอบรายชื่อ สำรวจผู้สูญหาย
=>> จุดรวมพลต้องเป็นพื้นที่กว้าง และอยู่เหนือลม
=>> ควรกำหนดจุดรวมพลมากกว่า 1 จุด (หากทำได้)
·         ต้องทำการซ้อมอพยพ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
3.   แผนระงับการหกรั่วไหล
·         ต้องจัดเตรียมสารดูดซับให้เพียงพอ เช่น ทรายแห้ง, สารดูดซับกรด, สารดูดซับอเนกประสงค์, ขี้เลื่อย
=>> สารดูดซับต้องเหมาะสมกับสารที่หกรั่วไหลโดยไม่เกิดปฏิกิริยาอันตราย
·         กำหนดขั้นตอนในการแจ้งผู้บังคับบัญชา
·         กำหนดขั้นตอนป้องกันไม่ให้สารที่รั่วไหล ออกสู่สิ่งแวดล้อม
·         กำหนดขั้นตอนดำเนินการกับสารดูดซับที่ปนเปื้อน
·         กำหนดขั้นตอนการทำความสะอาดพื้นที่ที่ปนเปื้อน
·         กำหนดวิธีการสืบสวนหาสาเหตุการหกรั่วไหล
·         กำหนดการฝึกอบรมทีมกู้ภัยให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง
4.  แผนการระงับอัคคีภัย
·           กำหนดมาตรฐานการทำงานดับเพลิงอย่างชัดเจน และเหมาะสมกับทรัพยากรบุคคล ความรู้ ความสามารถ และอุปกรณ์ที่มีอยู่
·           ต้องระบุหน้าที่ของแต่ละบุคคลให้ชัดเจน ในขณะเกิดอัคคีภัย
·           ควรจัดทำแผนการฝึกซ้อมดับเพลิง ประจำวัน, สัปดาห์, เดือนและประจำปี
5. แผนการจัดการน้ำดับเพลิง
·           น้ำดับเพลิงที่ใช้แล้วต้องป้องกันไม่ให้ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมได้
·           ไม่บำบัดน้ำเสียจากการดับเพลิงในโรงบำบัดน้ำเสีย ให้บำบัดทางเคมีหรือกำจัดทิ้งโดยถือเป็นของเสียที่ต้องจัดการเป็นพิเศษ ควรกักเก็บน้ำเสียจากการดับเพลิงในบ่อกักเก็บ วิเคราะห์สารปนเปื้อน และหาวิธีบำบัดที่ถูกต้องเหมาะสม
แผนภูมิแสดงขั้นตอนการจัดทำแผนปฏิบัติการฉุกเฉิน


หน่วยกู้ภัย
             กำหนดให้มีการฝึกอบรมถึงแผนปฏิบัติการ กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน  ได้อย่างถูกต้อง 
             ตามลักษณะความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากวัตถุอันตรายนั้นๆ ดังนี้
1.       การใช้เครื่องมือดับเพลิงมือถือ
2.       การใช้ระบบหัวน้ำฉีดกระจาย
3.       แผนการอพยพหนีไฟ

อุปกรณ์ในการกู้ภัย
               พิจารณาให้เหมาะสมกับความต้องการ และความสามารถของหน่วยกู้ภัย
               การประสานงาน กับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการระงับอุบัติภัย
ควรจัดทำรายชื่ออุปกรณ์การกู้ภัยไว้ให้ชัดเจนในแผนปฏิบัติการฉุกเฉินของหน่วยงานนั้นๆ
ควรระบุขั้นตอน การใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ให้ชัดเจน เช่น ผู้รับผิดชอบ, วิธีการติดต่อ, วิธีการดำเนินการใช้งาน

ระบบข้อมูล
ระดับของข้อมูลในการจัดการกับอุบัติเหตุ มี 4 ระดับ ได้แก่
1.       ข้อมูลเบื้องต้นที่ต้องการทราบ หรือที่สังเกตเห็นได้
·      หาได้จากที่เกิดเหตุ สังเกตได้ง่าย
                =>> ยานพาหนะที่ใช้ขนส่ง, ภาชนะบรรจุ, ตู้สินค้า, คอนเทนเนอร์ที่บรรจุวัตถุอันตราย
2.       ข้อมูลขั้นต้นโดยย่อที่ใช้ในการกู้ภัยเบื้องต้น
คู่มือระงับอุบัติภัยต่างๆ  =>> ข้อมูลการดับไฟ, การควบคุมการรั่วไหล และการปฐมพยาบาล
ตัวอย่างเช่น North American Response Guide Book, Ema-card, คู่มือระงับอุบัติภัยจากสารเคมี จากกองความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม, คู่มือการระงับอุบัติภัยจากสารเคมี จากสำนักควบคุมวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม, คู่มือการขนส่งวัตถุอันตราย จากกรมควบคุมมลพิษ เป็นต้น
·      หาได้จากบริเวณที่มีการใช้งาน หรือยานพาหนะในการขนส่ง
=>> วิธีการปฏิบัติงานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และข้อแนะนำพิเศษในการกู้ภัย
Material Safety Data Sheet (MSDS) จากผู้ผลิต
Safety Information จากการท่าเรือที่ให้กับพนักงานขับรถ ก่อนออกจากท่าเรือ
                                                =>> เอกสารกำกับการขนส่ง
                                                UN no, ประเภท, ปริมาณ, ผู้ผลิต, ผู้รับ, ผู้ทำการขนส่ง,
Ems (Emergency Response Procedure for Ships Carrying Dangerous Goods)
·      หาได้จากรถของหน่วยกู้ภัย ศูนย์ควบคุมและรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน ตำรวจ หน่วยแพทย์
3.       ข้อมูลรายละเอียด
·         ประกอบด้วย ข้อมูลทางเคมีและทางกายภาพของวัตถุอันตรายนั้นๆ, ข้อมูลการดับเพลิง, การควบคุมการรั่วไหล, การปฐมพยาบาล, ข้อมูลด้านความเป็นพิษ, การกำจัด, การเคลื่อนย้าย
4.       ข้อมูลสำหรับผู้เชี่ยวชาญ
·         ข้อมูลเฉพาะของวัตถุอันตรายอย่างละเอียด จากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุอันตรายนั้นๆ ได้จาก หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ดูแลความรับผิดชอบ และบริษัทผู้ผลิต
กลยุทธ์การจัดการข้อมูล สามารถแบ่งการให้ข้อมูลตามระดับการปฏิบัติงานของหน่วยกู้ภัย ได้ดังนี้
ð  ข้อมูลพื้นฐาน           ข้อมูลที่ประชาชนทั่วไปควรทราบ เพื่อทราบถึงอันตราย และหากพบเห็นเหตุการณ์อุบัติเหตุ                                       สามารถแจ้งรายละเอียดแก่หน่วยกู้ภัยได้อย่างถูกต้อง
ð  ข้อมูลโดยสังเขป       ข้อมูลที่หน่วยกู้ภัยดับเพลิงต้องทราบขณะปฏิบัติงาน เพื่อสามารถดำเนินการแก้ไข
                                    สถานการณ์ได้อย่างถูกต้อง
ð  ข้อมูลโดยละเอียด    ข้อมูลที่หน่วยกู้ภัยที่ได้ผ่านการอบรมมาเป็นอย่างดีในเรื่องการกู้ภัยวัตถุอันตราย
ð  ข้อมูลพิเศษ             ข้อมูลที่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านของภาคงานอุตสาหกรรม หรือผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศต้องทราบ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น