แนะนำ (RECOMMENDATION)

ใครอยากได้เนื้อหาเกี่ยวกับอะไรที่เกี่ยวข้องกับ ความปลอดภัย และงานสิ่งแวดล้อม ฝากข้อความไว้ได้ในหน้า แนะนำ ติชม นะคะ จะพยายามมาอัพข้อมูลให้ค่ะ

มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับการจัดการสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม

      ด้วยกระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาแล้วเห็นว่าในสภาวะปัจจุบันการประกอบกิจการโรงงานของโรงงานภายใต้กฏหมายว่าด้วยโรงงาน บางครั้งอาจมีการเก็บหรือการใช้สารเคมีที่มีความเป็นอันตรายจำนวนมาก โดยหากโรงงานดังกล่าวยังมีการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยสารเคมีที่ยังไม่เหมาะสม กรณีดังกล่าวนี้อาจเป็นเหตุให้นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชาชน ทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม ในโรงงานและชุมชนโดยรอบโรงงานขึ้นมาได้ ประกอบกับกฏหมายว่าด้วยโรงงานที่เกี่ยวกับความปลอดภัยสารเคมีที่มีอยู่เดิมไม่สอดคล้องกับสภาพความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน จึงสมควรที่จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มเติมกฏหมายเพื่อกำหนดให้มีการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยกำหนดให้โรงงานต้องมีมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการดำเนินการเกี่ยวกับจัดการสารเคมีในโรงงานและจัดทำรายงานปริมาณสารเคมีของโรงงาน

     อาศัยอำนาจตามความในข้อ 18 แห่งกฏกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.) 2535 ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และข้อ 7 (1) แห่งกฏกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งเพิ่มโดยกฏกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทาวงอุตสาหกรรม ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

     ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับการจัดการสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565"

     ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่ความในข้อ 8 และข้อ 9 ให้ใช้บังคับภายใต้เงื่อนไขและระยะเวลา ดังนี้

    (๑) กรณีเป็นสารเดี่ยวให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในรากิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

    (๒) กรณีเป็นสารผสมให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

     ข้อ ๓ ประกาศนี้ใช้บังคับกับผู้ประกอบกิจการรในโรงงานจำพวกที่ 3 ในบัญชีท้ายกฏกระทรวงตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

     ข้อ ๔ เว้นแต่ข้อความในประกาศนี้จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ในประกาศนี้

     "ผู้ประกอบกิจการโรงงาน" หมายความว่า ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีการเก็บหรือการใช้สารเคมีในการประกอบกิจการโรงงาน ยกเว้นน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฏหมายว่าด้วยควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง

     "สารเคมี" หมายความว่า สารเคมีอยู่ในรูปของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ทั้งที่เป็นสารเดี่ยวและสารผสม ยกเว้นน้ำ

     "สารเคมีอันตราย" หมายความว่า สารเคมีที่สามารถจำแนกความเป็นอันตรายได้ โดยอ้างอิงตาม Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)

     "สารเดี่ยว (Substance)" หมายความว่า ธาตุหรือสารประกอบที่มีอยู่ในสถานะธรรมชาติหรือเกิดจากกระบวนการผลิตต่าง ๆ ทั้งนี้ รวมถึงสารเติมแต่งที่จำเป็นในการรักษาความเสถียรของสารเดี่ยวหรือสารเจือปนที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต แต่ไม่รวมถึงสารตัวทำละลายที่สามารถแยกออกมาจากสารเดี่ยวได้โดยไม่มีผลต่อความเสเถียรของสารเดี่ยวหรือไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

องค์ประกอบของสารเดี่ยว

     "สารผสม (Mixture)" หมายความว่า สารผสมหรือสารละลายที่ประกอบด้วยสารเดี่ยวสองชนิดหรือมากกว่าที่ไม่ทำปฏิกิริยากัน

     "การจัดเก็บ" หมายความว่า การจัดเก็บสารเคมีอันตรายแต่ไม่หมายความรวมถึงการเก็บเตรียมเพื่อใช้งานในการประกอบกิจการโรงงาน

     "การจัดเก็บสารเคมีอันตรายในอาคาร" หมายความว่า การจัดเก็บสารเคมีอันตรายในอาคารโโรงงานที่จัดไว้เพื่อจัดเก็บสารเคมีอันตรายเป็นการเฉพาะ หรือการจัดเก็บสารเคมีอันตรายในอาคาร โรงงานที่จัดเก็บในห้องจัดเก็บสารเคมีอันตราย

     "เหตุฉุกเฉินสารเคมีอันตราย" หมายความว่า เหตุการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ในทันทีทันใด ที่มีต้นเหตุหรือที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตราย ส่งผลให้เกิดการรั่วไหลของสารเคมีอันตราย เพลิงไหม้ หรือ ระเบิด

     "อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล" หมายความว่า อุปกรณ์ที่สวมใส่เพื่อป้องกันอันตรายหรือลดความรุนแรงของการประสบอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นขณะปฏิบัติงาน โดยต้องได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรืมาตรฐานขององค์การมาตรฐานสากล (International Standardization and Organization  : ISO) หรือมาตรฐานสหภาพยุโรป (European Standards : EN) หรือมาตรฐานประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ (Australia Standards/New Zealand Standads : AS/NZS) หรือมาตรฐานสถาบันมาตรฐานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (American National Standards Institute : ANSI) หรือมาตฐานอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น (Japan Industrial Standards : JIS) หรือมาตรฐานสถาบันความปลอดภัยและอนามัยในการทงานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (The National Institute for Occupational Safety and Health : NIOSH) หรือมาตรฐานสำนักบริหารความปลอดภัย และอาชีวอนามัยแห่งชาติ กรมแรงงานประเทศสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and Health Administration : OSHA) หรือมาตรฐานสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Fire Protection Association : NFPA)

     ข้อ ๕ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติตามหมวด 1 ถึงหมวด ๕ ของประกาศ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยการตรวจสอบต้องดำเนินการโดยบุคลากรของโรงงานหรือหน่วยงานตรวจสอบภายนอก และจัดเก็บบันทึกผลการตรวจสอบไว้ในโรงงานพร้อมให้พนักงงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้

                                       หมวดที่ ๑ การบริหารจัดการความปลอดภัยสารเคม

     ข้อ ๖ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสารเคมีที่มีการเก็บหรือการใช้ ในการประกอบกิจการโรงงาน และต้องปรับปรุงบัญชีรายชื่อสารเคมีให้เป็นปัจจุบัน 

     ข้อ ๗ ภายใต้บังคับข้อ ๔๒ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องรายงานข้อมูลสารเคมีอันตราย ที่มีการเก็บหรือการใช้ในการประกอบกิจการโรงงาน ในปริมาณตั้งแต่หนึ่งตันต่อปีต่อสารเคมีอันตราย หนึ่งชนิด ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบตามแบบที่ก าหนดท้ายประกาศนี้ ปีละหนึ่งครั้ง โดยให้ รายงานภายในวันที่ ๑ มีนาคมของปีถัดไป 

     การรายงานตามวรรคหนึ่งให้ดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบเครือข่าย อิเล็กทรอนิกส์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก กรณีที่ไม่สามารถด าเนินการได้หรือมีเหตุอื่นใด ทำให้ไม่สามารถดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ให้การดำนินการดังกล่าวกระทำ ณ กรมโรงงาน อุตสาหกรรม หรือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด

     ข้อ ๘ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีฉลากที่เป็นภาษาไทย หรือคำแนะนำความปลอดภัย สารเคมีที่เป็นภาษาไทยไว้ที่ภาชนะบรรจุสารเคมี รวมถึงกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงภาชนะบรรจุ 

     ฉลากตามวรรคหนึ่งต้องมีรายละเอียดตามระบบการจ าแนกและการสื่อสารความเป็นอันตราย ของสารเคมี โดยอ้างอิงตาม Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS) กรณีที่ผู้ประกอบกิจการโรงงานได้ดำเนินการเกี่ยวกับฉลากตามกฎหมายอื่น ในทำนองเดียวกันแล้ว ให้ถือว่าได้ดำเนินการตามข้อนี้แล้ว

     ในกรณีที่ไม่สามารถปิดฉลากตามวรรคหนึ่งได้ เนื่องจากขนาดหรือลักษณะของภาชนะ บรรจุสารเคมี ให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานกำหนดวิธีการที่มีประสิทธิผลเพื่อแสดงให้คนงานได้รู้ถึง รายละเอียดของสารเคมีตามวรรคหนึ่ง ณ บริเวณที่มีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารเคมีนั้น 

     ข้อ ๙ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheet : SDS) ของสารเคมีที่เป็นภาษาไทย หรือคำแนะนำความปลอดภัยสารเคมีที่เป็นภาษาไทย โดยคนงานที่เกี่ยวข้องต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ และสื่อสารข้อมูลในส่วนที่สำคัญของสารเคมีให้คนงาน ที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย

     เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheet : SDS) ตามวรรคหนึ่งต้องมีรายละเอียดตามระบบการจำแนกและการสื่อสารความเป็นอันตรายของสารเคมี โดยอ้างอิงตาม Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS) กรณีที่ผู้ประกอบกิจการโรงงานได้ดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารข้อมูลความปลอดภัยตามกฏหมายอื่นในทำนองเดียวกันแล้วให้ถือว่าได้ดำเนินการตามข้อนี้แล้ว

     ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องดูแลภาชนะบรรจุสารเคมีอันตรายให้ปิดสนิทมิดชิด เมื่อไม่ใช้งาน และภาชนะบรรจุสารเคมีอันตรายต้องแข็งแรง ทนทานปลอดภัยในการจัดเก็บและใช้งาน สามารถขนย้ายได้ด้วยความปลอดภัย 

     ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดการไม่ให้สารเคมีอันตรายอยู่ใกล้เตาไฟ หม้อน้ำ ท่อไอน้ำ สายไฟฟ้าแรงสูง บริเวณที่อาจมีการเกิดประกายไฟ หรือในที่ซึ่งมีอุณหภูมิสูง 

     ข้อ ๑๒ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องใช้อุปกรณ์ เครื่องจักรที่เหมาะสมกับชนิดของสารเคมี อันตราย โดยส่วนที่มีการสัมผัสกับสารเคมีอันตรายต้องทำจากวัสดุที่ถูกต้องและเหมาะสม เป็นไป ตามคู่มือหรือคำแนะนำของผู้ผลิตสารเคมีอันตรายหรือหลักวิชาการหรือมาตรฐานสากล 

     ข้อ ๑๓ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีลิ้นเปิดปิด (Valve) ที่เหมาะสมกับชนิดของ สารเคมีอันตราย มีสัญลักษณ์หรือเอกสารแสดงคุณลักษณะในการใช้งานที่เหมาะสม เช่น อุณหภูมิ ความดัน ทิศทางการไหล ในกรณีที่ลิ้นเปิดปิด (Valve) ตามวรรคหนึ่งอาจนำไปสู่การเกิดอันตรายร้ายแรง ผู้ประกอบ กิจการโรงงานต้องติดตั้งป้ายแสดงสถานะการใช้งานหรือวิธีการอื่นที่เหมาะสม และมีการตรวจสอบ อย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เกิดการชำรุดหรือรั่วซึม

     ข้อ ๑๔ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการตรวจสอบ ทดสอบและบ ารุงรักษาอุปกรณ์ และเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการรั่วไหลของสารเคมีอันตราย ตามระยะเวลาที่กำหนดหรือเป็นไปตามแผนการบำรุงรักษาหรือตามคำแนะนำของผู้ผลิตอุปกรณ์และ เครื่องจักรหรือหลักวิชาการ หรือมาตรฐานสากล และต้องจัดทำบันทึกผลการตรวจสอบ ทดสอบและ บำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องจักร โดยบันทึกผลการตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษาให้เก็บรักษาไว้ ที่โรงงานพร้อมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ 

     ข้อ ๑๕ ในการซ่อมเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายผู้ประกอบ กิจการโรงงานต้องด าเนินการตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ 

     (๑) ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์นั้น ๆ ทั้งนี้ ต้องมี ความรู้เรื่องสมบัติสารเคมีอันตราย หรือปฏิบัติงานภายใต้คำแนะนำหรือการควบคุมงานของผู้มีความรู้ เรื่องสมบัติสารเคมีอันตราย 

     (๒) สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment: PPE) ตามความจำเป็นและเหมาะสม 

     (๓) ทำการแยกหรือตัดระบบ รวมถึงตัดแหล่งพลังงาน ก่อนการซ่อมบำรุง

     (๔) หยุดเครื่องจักรส่วนอื่นที่อาจก่อให้เกิดอันตราย รวมทั้งห้ามผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องอยู่ในบริเวณ ดังกล่าว 

     ข้อ ๑๖ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีระบบการอนุญาตในการทำงานที่มีประกายไฟ หรือความร้อนที่เป็นอันตราย (Hot Work Permit System) ในการปฏิบัติงานใดๆ ก็ตามที่ก่อให้เกิด ประกายไฟ ความร้อน หรือการสะสมของสารไวไฟ หรือติดไฟในบริเวณปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับ สารเคมีอันตรายที่มีความเสี่ยงในการติดไฟ ออกซิไดซ์ หรือระเบิดได้ 

     ข้อ ๑๗ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีป้ายที่มีสัญลักษณ์ และเครื่องหมายที่เป็นไป ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมว่าด้วยเรื่องสีและเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย เช่น ป้ายห้าม ป้ายเตือน ป้ายบังคับ หรือป้ายแสดงสภาวะปลอดภัย ที่เห็นได้ชัดเจน ในบริเวณที่มีการเก็บหรือ การใช้สารเคมีอันตราย 

     ข้อ ๑๘ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องด าเนินการไม่ให้มีการสูบบุหรี่ รับประทานอาหารหรือ เครื่องดื่ม หรือพักอาศัย ในบริเวณที่มีการเก็บหรือการใช้สารเคมีอันตราย 

     ข้อ ๑๙ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีวิธีการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ที่ครอบคลุมทุกขั้นตอนในการประกอบกิจการโรงงาน เป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในที่ปฏิบัติงาน หรือสามารถเข้าถึงได้ พร้อมทั้งสื่อสารให้คนงานที่เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจและปฏิบัติตาม 

     ข้อ ๒๐ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ตามความเหมาะสมต่อการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายและมีมาตรการให้คนงานที่เกี่ยวข้อง สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลทุกครั้งเมื่อมีการปฏิบัติงาน รวมทั้งดูแลรักษา ให้มีสภาพพร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัย 

     ข้อ ๒๑ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีที่ชำระล้างดวงตาและร่างกายในกรณีฉุกเฉิน ในบริเวณที่มีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ที่สามารถเข้าถึงได้โดยสะดวกและพร้อมใช้งาน โดยน้ำที่ใช้ต้องสะอาดและปลอดภัย 

     ข้อ ๒๒ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับ การจัดการสารเคมีอันตราย วิธีปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย และการจัดการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ให้กับคนงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ให้การฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งต้องดำเนินการโดยผู้ที่มีความรู้ด้านการจัดการสารเคมีอันตราย อย่างปลอดภัย และทำการฝึกอบรมทบทวนอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง โดยหลักฐานการฝึกอบรม ให้เก็บรักษาไว้ที่โรงงานพร้อมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ 

     ข้อ ๒๓ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีระบบการสื่อสารหรือการแจ้งเตือนในกรณีเกิด การรั่วไหลของสารเคมีอันตราย เพื่อสื่อสารให้คนงานในพื้นที่รับทราบและปฏิบัติตามแผนการระงับ เหตุฉุกเฉินสารเคมีอันตรายอย่างเคร่งครัด 


                                       หมวดที่ ๒

มาตรการความปลอดภัยการรับ การขนถ่ายและการเคลื่อนย้ายสารเคมีอันตราย

     ข้อ ๒๔ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีขั้นตอนวิธีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับ การขนถ่ายและการเคลื่อนย้ายสารเคมีอันตราย รวมถึงมาตรการป้องกันการฟุ้งกระจาย รวมถึง การกระเด็น หก รั่ว ไหล หรือตกหล่น ขั้นตอนวิธีการปฏิบัติงานตามวรรคหนึ่งต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรและเป็นไปตามหลักวิชาการ หรือคำแนะนำของผู้ผลิต โดยเก็บไว้ในที่ปฏิบัติงานพร้อมทั้งสื่อสารให้คนงานที่เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจ และปฏิบัติตาม 

     ข้อ ๒๕ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการติดตั้งสายดิน (Grounding) รวมถึงต่อฝาก (Bonding) ภาชนะบรรจุในขณะที่ทำการรับ การขนถ่าย หรือการเคลื่อนย้ายสารเคมีอันตรายที่มี สมบัติไวไฟ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากไฟฟ้าสถิต โดยการติดตั้งสายดิน (Grounding) รวมถึงต่อฝาก (Bonding) ต้องเป็นไปตามหลักวิศวกรรม 

     ข้อ ๒๖ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องตรวจสอบสภาพของภาชนะบรรจุที่รับเข้ามาให้อยู่ใน สภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัย 

     ข้อ ๒๗ การขนถ่ายเคลื่อนย้ายสารเคมีอันตรายทางท่อทั้งบนดินและใต้ดิน ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องดำเนินการ ดังนี้

     (๑) ท่อ หน้าแปลน หรือข้อต่อ ต้องทำจากวัสดุที่เหมาะสมกับชนิดของสารเคมีอันตราย โดยไม่ทำปฏิกิริยากัน 

     (๒) ท่อส่งบนดิน (Above Ground) ของสารเคมีอันตรายต้องทาสี หรือท าสัญลักษณ์ หรือทำเครื่องหมายเป็นระยะให้เห็นชัดเจนรวมทั้งระบุทิศทางการไหลของสารเคมีอันตรายในท่อ 

     (๓) ท่อส่งสารเคมีอันตรายที่อุณหภูมิผิวภายนอกอาจก่อให้เกิดอันตรายจากการสัมผัส ต้องจัด ให้มีวิธีการป้องกันอย่างหนึ่งอย่างใด ได้แก่ หุ้มฉนวน หรือการ์ดป้องกัน หรือแสดงป้าย หรือข้อความเตือน และอื่น ๆ 

     (๔) ดูแล รักษา และตรวจสอบท่อบนดินรวมถึงอุปกรณ์รองรับท่อ ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย ไม่มีการแตกร้าว รั่ว ซึม หรือชำรุดเสียหาย ตามระยะเวลาที่กำหนดหรือเป็นไปตามแผนการ บำรุงรักษา 

     (๕) ดูแล รักษา หรือตรวจสอบท่อใต้ดินหรือใต้น้ำ ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย ไม่มีการ แตกร้าว รั่ว ซึม หรือชำรุดเสียหายและมีมาตรการป้องกันผลกระทบแนวท่อ เช่น การติดตั้งอุปกรณ์ แลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้า (Cathodic Protection )

                                    หมวดที่ ๓ 

มาตรการความปลอดภัยในการจัดเก็บสารเคมีอันตราย

     ข้อ ๒๘ การจัดเก็บสารเคมีอันตรายในอาคาร ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีมาตรการ ความปลอดภัย ดังนี้ 

     (๑) มีป้ายชี้บ่งว่าเป็นพื้นที่จัดเก็บสารเคมีอันตรายแสดงให้เห็นชัดเจน 

     (๒) จัดทำแผนผังแสดงการจัดเก็บสารเคมีอันตรายที่เป็นปัจจุบัน โดยจัดเก็บในสถานที่ ที่เข้าถึงได้ง่ายและพร้อมใช้งาน 

     (๓) ภาชนะบรรจุที่จัดเก็บต้องติดฉลากแสดงข้อมูลสารเคมีอันตราย และอยู่ในสภาพ เรียบร้อย ไม่ชำรุด เสียหาย 

     (๔) จัดเก็บสารเคมีอันตรายตามสมบัติความเป็นอันตราย โดยต้องไม่ท าปฏิกิริยากับสารเคมี อันตรายประเภทอื่น ๆ ที่จัดเก็บอยู่แล้ว หรือเป็นไปตามคำแนะนำในเอกสารข้อมูลความปลอดภัย 

     (๕) จัดวางเรียงภาชนะบรรจุสารเคมีอันตรายซึ่งความจุสูงสุดไม่เกิน ๔๕๐ ลิตร มวลสุทธิ สูงสุดไม่เกิน ๔๐๐ กิโลกรัม โดยต้องมีความสูงไม่เกิน ๓ เมตร หรือหากวางบนแผ่นรองสินค้า (Pallet) ต้องวางเรียงกันไม่เกิน ๓ ชั้น ยกเว้นกรณีที่จัดเก็บสารเคมีอันตรายบนชั้นวางที่มีความมั่นคง แข็งแรงเพียงพอ 

     (๖) มีมาตรการป้องกันหรือควบคุมไอระเหยสารเคมีอันตรายในพื้นที่ที่มีการเก็บสารเคมี อันตราย 

     (๗) มีมาตรการในการป้องกันและระงับการหก รั่วไหล ของสารเคมีอันตราย (๘) ต้องสามารถนำเครื่องมือและอุปกรณ์เข้าไประงับเหตุได้โดยสะดวกและปลอดภัย ไม่มีสิ่งกีดขวาง 

     (๙) มีมาตรการป้องกันและระงับอัคคีภัยที่เหมาะสมกับชนิด และเพียงพอกับปริมาณสารเคมี อันตรายที่จัดเก็บ 

     ข้อ ๒๙ การจัดเก็บสารเคมีอันตรายภายนอกอาคาร ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มี มาตรการความปลอดภัย ดังนี้ 

     (๑) มีป้ายชี้บ่งว่าเป็นพื้นที่จัดเก็บสารเคมีอันตรายแสดงให้เห็นชัดเจน (๒) จัดเก็บสารเคมีอันตรายในบริเวณที่เหมาะสมและจัดเตรียมไว้เป็นการเฉพาะ ไม่เป็นที่ จอดยานพาหนะหรือเส้นทางการจราจร 

     (๓) พื้นต้องมั่นคงแข็งแรง ไม่ลื่น ไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีอันตรายที่จัดเก็บ และไม่มี รอยแตกร้าว 

     (๔) จัดเก็บสารเคมีอันตรายตามสมบัติความเป็นอันตราย โดยต้องไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมี อันตรายประเภทอื่น ๆ ที่จัดเก็บอยู่แล้ว หรือเป็นไปตามคำแนะนำในเอกสารข้อมูลความปลอดภัย

     (๕) จัดวางเรียงภาชนะบรรจุสารเคมีอันตรายซึ่งความจุสูงสุดไม่เกิน ๔๕๐ ลิตร มวลสุทธิ สูงสุดไม่เกิน ๔๐๐ กิโลกรัม โดยต้องมีความสูงไม่เกิน ๓ เมตร หรือหากวางบนแผ่นรองสินค้า (Pallet) ต้องวางเรียงกันไม่เกิน ๓ ชั้น ยกเว้นกรณีที่จัดเก็บสารเคมีอันตรายบนชั้นวางที่มีความมั่นคง แข็งแรงเพียงพอ 

     (๖) การจัดเก็บสารเคมีอันตรายนอกอาคาร ต้องคำนึงถึงผลกระทบอันเนื่องมาจากสภาวะ แวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ความร้อน แสงแดด และความสั่นสะเทือน ที่อาจก่อให้เกิด ปฏิกิริยาเคมีใด ๆ ที่เป็นอันตราย 

     (๗) มีมาตรการในการป้องกันและระงับการหก รั่วไหล ของสารเคมีอันตราย 

     (๘) มีระบบกักเก็บสารเคมีอันตรายที่หก รั่วไหล ไม่ให้ปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมและต้องป้องกัน ไม่ให้ไหลลงสู่ทางระบายสาธารณะ 

     (๙) มีมาตรการป้องกันและระงับอัคคีภัย ที่เหมาะสมกับชนิด และเพียงพอกับปริมาณ สารเคมีอันตรายที่จัดเก็บ

                                    หมวดที่ ๔ 

มาตรการความปลอดภัยในการใช้สารเคมีอันตราย

     ข้อ ๓๐ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการศึกษาการใช้งานสารเคมีอันตรายอย่างปลอดภัย ตามเอกสารข้อมูลความปลอดภัย หรือคำแนะนำของผู้ผลิต 

     ข้อ ๓๑ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีขั้นตอนวิธีการปฏิบัติงานในการใช้สารเคมีอันตราย เป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในที่สามารถเข้าถึงได้ พร้อมทั้งสื่อสารให้คนงานที่เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจ และปฏิบัติตาม 

     ข้อ ๓๒ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องแบ่งแยกพื้นที่ที่มีการใช้และการเก็บสารเคมีอันตราย ที่อยู่ภายในอาคารเดียวกัน ออกจากกันให้ชัดเจน 

     ข้อ ๓๓ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีมาตรการป้องกัน ควบคุม บำบัด หรือกำจัด ไอระเหยสารเคมีอันตรายในพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีอันตราย 

     ข้อ ๓๔ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันและระงับอัคคีภัยที่เหมาะสม กับชนิด และเพียงพอกับปริมาณสารเคมีอันตรายที่ใช้งาน

                                    หมวดที่ ๕

การระงับเหตุฉุกเฉินสารเคมีอันตราย 

     ข้อ ๓๕ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีป้ายเครื่องหมาย สัญลักษณ์ตามมาตรฐานสากล หรือข้อความ โดยอาจแสดงระดับความไวไฟ อันตรายต่อสุขภาพ หรือรายละเอียดอื่น ๆ ในบริเวณ ที่มีการเก็บหรือการใช้สารเคมีอันตราย ให้เพียงพอและเหมาะสมเพื่อการระงับเหตุ 

     ข้อ ๓๖ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีแผนการระงับเหตุฉุกเฉินสารเคมีอันตราย ให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับพื้นที่ โดยเก็บแผนนี้ ไว้ในโรงงานพร้อมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ 

     ข้อ ๓๗ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดเตรียมทรัพยากรให้สอดคล้องกับแผนการระงับเหตุฉุกเฉิน สารเคมีอันตราย และมีความพร้อมที่จะระงับเหตุฉุกเฉิน 

     ข้อ ๓๘ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการสื่อสารแผนการระงับเหตุฉุกเฉินสารเคมี อันตรายกับคนงาน 

     ข้อ ๓๙ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการฝึกซ้อมและทบทวนแผนการระงับเหตุฉุกเฉิน สารเคมีอันตรายอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง 

     ข้อ ๔๐ ในกรณีที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงาน ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องให้หยุด การดำเนินงานในส่วนนั้น ๆ และปฏิบัติตามแผนการระงับเหตุฉุกเฉินสารเคมีอันตรายอย่างเคร่งครัด โดยให้คนงานซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องออกจากบริเวณนั้นทันที 

     ข้อ ๔๑ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดเตรียมข้อมูลที่จำเป็นต่อการระงับเหตุที่เป็นปัจจุบัน เช่น ข้อมูลชนิดและปริมาณสารเคมีอันตรายที่มีการจัดเก็บในโรงงาน เอกสารข้อมูลความปลอดภัย แผนผังแสดงการติดตั้งเครื่องจักร แบบแปลนแสดงอาคารโรงงาน แผนผังแสดงสิ่งปลูกสร้างบริเวณ โรงงาน และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้แก่หน่วยงานภายนอกที่เข้ามาระงับเหตุ

                                    หมวดที่ ๖

                                    บทเฉพาะกาล 

     ข้อ ๔๒ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ผู้ประกอบกิจการ โรงงานตามบัญชีแนบท้ายประกาศฉบับนี้ต้องรายงานข้อมูลตาม

ข้อ ๗ ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบ ส่วนการรายงานข้อมูลตามข้อ ๗ ครั้งต่อ ๆ ไปให้ดำเนินการตามข้อ ๗ 

     ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ผู้ประกอบกิจการโรงงานนอกเหนือจากวรรคหนึ่ง ต้องรายงานข้อมูลตามข้อ ๗ ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบ ส่วนการรายงานครั้งต่อ ๆ ไปให้ดำเนินการ ตามข้อ ๗  








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น