(1) ผู้ควบคุมหรือหัวหน้าคลังจัดเก็บวัตถุอันตรายควรได้รับการฝึกอบรมในหัวข้อเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
- คุณสมบัติของวัตถุอันตราย การจำแนกประเภทของวัตถุอันตราย
- อุปกรณ์ป้องกันภัยชนิดต่าง ๆ
- การใช้งาน การใช้คู่มือการปฏิบัติงาน
- การกู้ภัยเบื้องต้นรวมทั้งการใช้เครื่องมือดับเพลิงมือถือ
- ข้อมูลที่สำคัญในกรณีฉุกเฉิน โดยทั่วไปควรอบรมปีละ 1 ครั้ง
(2) ผู้ปฏิบัติงานทั่วไปควรได้รับการฝึกอบรมในเรื่อง
(2) ผู้ปฏิบัติงานทั่วไปควรได้รับการฝึกอบรมในเรื่อง
- วิธีการจัดการเมื่อมีการหกหรือรั่วไหล
- การใช้เครื่องมือดับเพลิงมือถือ การอพยพ
- การใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล
- การใช้เครื่องมือทุ่นแรง โดยกำหนดให้อบรมปีละ 1 ครั้ง
(3) หัวหน้างานต้องสำรวจว่าผู้ปฏิบัติงานขาดความรู้ หรือควรได้รับความรู้เพิ่มเติมด้านใด เพื่อจัดให้มีการอบรมตามความเหมาะสม
(3) หัวหน้างานต้องสำรวจว่าผู้ปฏิบัติงานขาดความรู้ หรือควรได้รับความรู้เพิ่มเติมด้านใด เพื่อจัดให้มีการอบรมตามความเหมาะสม
การฝึกอบรมการป้องกัน และระงับอุบัติภัยเบื้องต้น ให้แก่กลุ่มบุคคลที่องค์กร มอบหมายภาระกิจพิเศษนี้ให้ โดยต้องมอบภาระหน้าที่ ไว้อย่างชัดเจนต้องกำหนดให้มี การฝึกซ้อมร่วมกับหน่วยกู้ภัย ของท้องถิ่น เป็นการซ้อมการประสานแผน ระหว่างองค์กร และหน่วยกู่ภัยของท้องถิ่น หากพบข้อบกพร่อง สามารถทำการแก้ไขได้
การฝึกอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ผู้บาดเจ็บ
ต้องจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น เอกสาร MSDS เป็นต้น
ตัวอย่างรายละเอียดเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลโดยทั่วไปอาจประกอบด้วย
- หากได้รับไอระเหยของสารอันตราย : นำผู้บาดเจ็บมาไว้ในที่อากาศถ่ายเทได้ดี นำส่งแพทย์
- หากได้รับสารเข้าตา : ล้างด้วยน้ำสะอาดเป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที นำส่งแพทย์
- หากกลืนกินสารอันตราย : ห้ามทำให้อาเจียน ยกเว้นได้รับอนุญาตจากแพทย์หรือ ใน
- หากได้รับไอระเหยของสารอันตราย : นำผู้บาดเจ็บมาไว้ในที่อากาศถ่ายเทได้ดี นำส่งแพทย์
- หากได้รับสารเข้าตา : ล้างด้วยน้ำสะอาดเป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที นำส่งแพทย์
- หากกลืนกินสารอันตราย : ห้ามทำให้อาเจียน ยกเว้นได้รับอนุญาตจากแพทย์หรือ ใน
MSDS กำหนดไว้ให้อาเจียนได้ นำส่งแพทย์
- หากได้รับสารที่ผิวหนัง : ล้างด้วยน้ำสะอาด หลังจากทำการถอดเสื้อผ้าที่ ปนเปื้อนสาร
- หากได้รับสารที่ผิวหนัง : ล้างด้วยน้ำสะอาด หลังจากทำการถอดเสื้อผ้าที่ ปนเปื้อนสาร
อันตรายออกแล้ว น้ำล้างให้ทำการกักเก็บไว้ด้วย เนื่องจากน้ำนั้นได้ปนเปื้อนสารอันตราย
-ไหม้จากสารอันตราย : ทำให้บริเวณไหม้ เย็นลงให้เร็วที่สุดด้วยน้ำเย็นห้าม
-ไหม้จากสารอันตราย : ทำให้บริเวณไหม้ เย็นลงให้เร็วที่สุดด้วยน้ำเย็นห้าม
พยายามดึงผ้าที่ติดบาดแผลไหม้ออก นำส่งแพทย์
ตามประกาศมติคณะกรรมการวัตถุอันตราย เรื่องการขนส่งวัตถุอันตรายทางบก พ.ศ. 2545
ได้กำหนดโครงสร้างการฝึกอบรมเกี่ยวกับการขนส่งวัตถุอันตรายไว้ 3 หลักสูตร ดังนี้
หลักสูตรที่ 1 (หลักสูตรระดับสูง) เป็นหลักสูตรการฝึกอบรมพื้นฐานเกี่ยวกับการขนส่งวัตถุอันตราย ได้แก่ การแบ่งประเภทของวัตถุอันตราย ความเป็นอันตรายและความเสี่ยง ฉลาก ป้าย และเครื่องหมาย ภาชนะบรรจุ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และความรับผิดชอบของหน่วยงานที่มีอำนาจเกี่ยวกับการขนส่งวัตถุอันตราย หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรสำหรับหัวหน้างานหรือผู้ควบคุมงานของบริษัทขนส่ง โดยมีระยะเวลาในการอบรม 8 ชั่วโมง และทบทวนทุกๆ 3 ปี
หลักสูตรที่ 2 (หลักสูตรขั้นพื้นฐาน) เป็นหลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับพนักงานขับรถบรรทุกวัตถุอันตราย ซึ่งหัวข้อการอบรมประกอบด้วย ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ฉลาก ป้าย และเครื่องหมาย แผ่นป้ายสีส้ม ภาชนะบรรจุ การบรรทุกและการขนวัตถุอันตรายที่บรรจุอยู่ในหีบห่อหรือสินค้าเทกอง เอกสารหรือข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเหตุฉุกเฉิน กฎในการขับขี่อย่างปลอดภัย ใช้ระยะเวลาในการอบรม 16 ชั่วโมง และมีการทบทวนทุกๆ 3 ปี ซึ่งพนักงานขับรถบรรทุกวัตถุอันตรายที่ผ่านการอบรมหลักสูตรนี้ จะได้รับใบขับขี่ประเภทที่ 4 ของกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม
หลักสูตรที่ 3 (หลักสูตรพิเศษ) เป็นหลักสูตรสำหรับพนักงานขับรถพ่วง ซึ่งผู้ที่จะอบรมในหลักสูตรนี้ จะต้องผ่านการอบรมในหลักสูตรที่ 2 มาแล้ว หลักสูตรนี้จะเป็นการอบรมเฉพาะเกี่ยวกับ ความเป็นอันตรายของวัตถุอันตรายในแต่ละประเภท การป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น และมาตรการสำหรับเหตุฉุกเฉินในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดการรั่วไหลของวัตถุอันตรายในระหว่างการขนส่ง รวมถึงการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล โดยใช้ระยะเวลาในการอบรม 8 ชั่วโมง และทบทวนทุกๆ 3 ปี
หลักสูตรที่ 2 (หลักสูตรขั้นพื้นฐาน) เป็นหลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับพนักงานขับรถบรรทุกวัตถุอันตราย ซึ่งหัวข้อการอบรมประกอบด้วย ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ฉลาก ป้าย และเครื่องหมาย แผ่นป้ายสีส้ม ภาชนะบรรจุ การบรรทุกและการขนวัตถุอันตรายที่บรรจุอยู่ในหีบห่อหรือสินค้าเทกอง เอกสารหรือข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเหตุฉุกเฉิน กฎในการขับขี่อย่างปลอดภัย ใช้ระยะเวลาในการอบรม 16 ชั่วโมง และมีการทบทวนทุกๆ 3 ปี ซึ่งพนักงานขับรถบรรทุกวัตถุอันตรายที่ผ่านการอบรมหลักสูตรนี้ จะได้รับใบขับขี่ประเภทที่ 4 ของกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม
หลักสูตรที่ 3 (หลักสูตรพิเศษ) เป็นหลักสูตรสำหรับพนักงานขับรถพ่วง ซึ่งผู้ที่จะอบรมในหลักสูตรนี้ จะต้องผ่านการอบรมในหลักสูตรที่ 2 มาแล้ว หลักสูตรนี้จะเป็นการอบรมเฉพาะเกี่ยวกับ ความเป็นอันตรายของวัตถุอันตรายในแต่ละประเภท การป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น และมาตรการสำหรับเหตุฉุกเฉินในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดการรั่วไหลของวัตถุอันตรายในระหว่างการขนส่ง รวมถึงการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล โดยใช้ระยะเวลาในการอบรม 8 ชั่วโมง และทบทวนทุกๆ 3 ปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น