แนะนำ (RECOMMENDATION)

ใครอยากได้เนื้อหาเกี่ยวกับอะไรที่เกี่ยวข้องกับ ความปลอดภัย และงานสิ่งแวดล้อม ฝากข้อความไว้ได้ในหน้า แนะนำ ติชม นะคะ จะพยายามมาอัพข้อมูลให้ค่ะ

SDS (Safety Data Sheet)

         



       จากประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบการจำแนกและการสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตราย พ.ศ. 2555 ประกาศ ณ วันที่ 12 มีนาคม 2555 ได้กำหนดให้มีการจำแนกและสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตรายซึ่งอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ต้องมีการจำแนกและสื่อสารความเป็นอันตรายของสารเคมีในรูปแบบของฉลาก (Label) และเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheet) 
       
       ณ ที่นี้จะกล่าวถึงการสื่อสารความเป็นอันตรายของสารเคมีในรูปแบบของ เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheet) ซึ่งต้องมีรายละเอียดทั้งหมด 16 หัวข้อ และมีรายละเอียดแต่ละหัวข้อดังนี้





      
       1. การบ่งชี้สารเดี่ยวหรือสารผสม และผู้ผลิต
           (Identification of the substance or mixture and of the supplier)

            - ตัวบ่งชี้ผลิตภัณฑ์ตามระบบ GHS (GHS product identifier)
            - การบ่งชี้ด้วยวิธีอื่นๆ
            - ข้อแนะนำและข้อจำกัดต่างๆ ในการใช้สารเดี่ยวหรือสารผสม
            - รายละเอียดผู้ผลิต (ประกอบด้วยชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์)
            - หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน

       2. การบ่งชี้ความเป็นอันตราย
         (Hazards identification)
          - การจำแนกประเภทสารเดี่ยวหรือสารผสมตามระบบ GHS และข้อมูลในระดับชาติหรือระดับ
            ภูมิภาค
          - องค์ประกอบฉลากตามระบบ GHS รวมถึงข้อความที่แสดงข้อควรระวัง (precautionary
          statements) สำหรับสัญลักษณ์ความเป็นอันตราย (hazard symbols) ให้ทำสำเนา 
          จากรูปกราฟฟิกตามระบบ GHS เป็นสีขาวดำได้ หรือ ระบุชื่อสัญลักษณ์ เช่น เปลวไฟ หัว 
          กะโหลก และกระดูกไขว้ เป็นต้น
         - ความเป็นอันตรายอื่นที่ไม่ได้เป็นผลจากการจำแนกตามระบบ GHS เช่น ความเป็นอันตราย
         จากการระเบิดของผงฝุ่น (dust explosion hazard) เป็นต้น หรือที่ระบบ GHS ไม่ 
          ครอบคลุมถึง
  3. องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
         (Composition / information on ingredients)
         
สารเดี่ยว

          - ชื่อทางเคมี (chemical identity)
          - ชื่อสามัญ (common name) และชื่อพ้อง (synonym) (ถ้ามี)
          - หมายเลข CAS และตัวบ่งชี้ที่มีลักษณะเฉพาะอื่นๆ
          - สิ่งเจือปนและสารปรุงแต่งให้เสถียร (impurities and stabilizing additives) ซึ่งถูก 

          จำแนกและมีผลต่อการจำแนกประเภทสารเดี่ยว
          สารผสม          

          - ชื่อทางเคมี
          - ระบุค่าความเข้มข้น หรือช่วงความเข้มข้นของส่วนผสมทั้งหมด ที่เป็นอันตราย และมีค่าสูง 

         กว่า cut off levels ตามความหมายของระบบ GHS
             หมายเหตุ สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม ให้ถือกฎระเบียบว่าด้วยการรักษาข้อมูลที่เป็น 

         ความลับทางธุรกิจ (confidential business information- CBI) ที่หน่วยงานของรัฐ 
         กำหนดขึ้นเป็นสำคัญ
     4. มาตรการปฐมพยาบาล (First-aid measures)
         - บรรยายถึงวิธีการปฐมพยาบาล โดยแบ่งตามลักษณะการได้รับหรือสัมผัสสาร ได้แก่ การ 

         หายใจเข้าไป การสัมผัสผิวหนังหรือดวงตา และการกลืนกิน         
         - อาการหรือผลกระทบที่สำคัญ ทั้งที่เกิดเฉียบพลันและที่เกิดขึ้นภายหลัง
         - ระบุถึงข้อควรพิจารณาทางการแพทย์ที่ต้องทำทันที และการดูแลรักษาเฉพาะที่สำคัญที่ควร
         ดำเนินการ
     5. มาตรการผจญเพลิง (Fire-fighting measures)
         - สารดับเพลิงที่ห้ามใช้ และสารดับเพลิงที่เหมาะสม
         - ความเป็นอันตรายเฉพาะที่เกิดขึ้นจากสารเคมี เช่น ความเป็นอันตรายที่เกิดจากการลุกไหม้ 

         ของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
         - อุปกรณ์ป้องกันพิเศษและข้อควรระวัง สำหรับนักผจญเพลิง
     6. มาตรการจัดการเมื่อมีการหกรั่วไหลของสาร (Accidental release measures)
         - ข้อควรระวังส่วนบุคคล อุปกรณ์ป้องกันอันตราย และขั้นตอนการปฏิบัติงานฉุกเฉิน
         - ข้อควรระวังด้านสิ่งแวดล้อม
         - วิธีการและวัสดุสำหรับกักเก็บและทำความสะอาด (cleaning up)
    7. การขนถ่าย เคลื่อนย้าย ใช้งาน และเก็บรักษา (Handling and storage)
         - ข้อควรระวังในการขนถ่ายเคลื่อนย้าย ใช้งาน และการเก็บรักษาอย่างปลอดภัย
         - สภาวะการเก็บรักษาอย่างปลอดภัย รวมทั้งข้อห้ามในการเก็บรักษาสารที่เข้ากันไม่ได้
        (incompatibility)
    8. การควบคุมการรับสัมผัสและการป้องกันส่วนบุคคล
       (Exposure controls/personal protection)

        - ค่าต่างๆ ที่ใช้ควบคุม (control parameters) การรับสัมผัส เช่น ค่าขีดจำกัดที่ยอมให้รับ 

        สัมผัสได้ในขณะปฏิบัติงาน (occupational exposure limit values) เป็นต้น หรือค่าขีด
        จำกัดทางชีวภาพ (biological limit values)
        - การควบคุมทางวิศวกรรมที่เหมาะสม
        - มาตรการป้องกันส่วนบุคคล เช่น อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เป็นต้น
    9. คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี (Physical and chemical properties)
        - ลักษณะทั่วไป เช่น สถานะทางกายภาพ และสี เป็นต้น
        - กลิ่น
        - ค่าขีดจำกัดของกลิ่นที่รับได้ (odour threshold limit)
        - ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH)
        - จุดหลอมเหลวและจุดเยือกแข็ง (melting point/freezing point)
        - จุดเดือดเริ่มต้น และช่วงของการเดือด (initial boiling point and boiling range)
        - จุดวาบไฟ (flash point)
        - อัตราการระเหย (evaporation rate)
        - ความสามารถในการลุกติดไฟได้ของของแข็ง และก๊าซ (flammability (solid, gas))
        - ค่าขีดจำกัดสูงสุดและต่ำสุดของความไวไฟ หรือค่าจำกัดสูงสุดและต่ำสุด ของการระเบิด
       (upper/lower flammability or explosive limits)
        - ความดันไอ (vapour pressure)
        - ความหนาแน่นไอ (vapour density)
        - ความหนาแน่นสัมพัทธ์ (relative density)       

        - ความสามารถในการละลายได้ (solubility)
        - ค่าสัมประสิทธิ์การละลายของสารในชั้นของ n-octanol ต่อน้ำ
       (partition coefficient : n-octanol/water)
        - อุณหภูมิที่ลุกติดไฟได้เอง (auto-ignition temperature)
        - อุณหภูมิของการสลายตัว (decomposition temperature)
        - ความหนืด (viscosity)
   10. ความเสถียรและการเกิดปฏิกิริยา (Stability and reactivity)
        - การเกิดปฏิกิริยา
        - ความเสถียรทางเคมี
        - ความเป็นไปได้ในการเกิดปฏิกิริยาอันตราย
        - สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น การคายประจุไฟฟ้าสถิต แรงกระแทก หรือการสั่นสะเทือน เป็นต้น
        - วัสดุที่เข้ากันไม่ได้
        - ความเป็นอันตรายของสารที่เกิดจากการสลายตัว
  11. ข้อมูลด้านพิษวิทยา (Toxicological information)
        - มีคำอธิบายถึงผลกระทบหลากหลายด้านพิษวิทยา (สุขภาพ) ที่กระชับ สมบูรณ์ และเข้าใจ
        ตามข้อมูลที่มีอยู่ ซึ่งสามารถบ่งชี้ถึงผลกระทบเหล่านั้น รวมทั้ง ข้อมูลเกี่ยวกับทางรับสัมผัสที่ 

        อาจเกิดขึ้น ได้แก่ การหายใจเข้าไป การกลืนกิน และการสัมผัสทางผิวหนังและดวงตา
        - อาการปรากฏที่มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี และทางพิษวิทยา
        - ผลกระทบเฉียบพลันและที่เกิดขึ้นภายหลัง (delayed and immediate effects) รวมทั้ง

        ผลเรื้อรัง(chronic effects) จากการรับสัมผัส ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว (short- and 
        long-term exposure)
        - ค่าความเป็นพิษที่วัดเป็นตัวเลข เช่น ค่าประมาณการความเป็นพิษเฉียบพลัน เป็นต้น
 12. ข้อมูลด้านนิเวศวิทยา (Ecological information)
        - ความเป็นพิษต่อระบบนิเวศ (ในน้ำและบนบก ถ้ามี)
        - การตกค้างยาวนาน (persistence) และความสามารถในการย่อยสลาย(degradability)
        - ศักยภาพในการสะสมทางชีวภาพ (bioaccumulative potential)
        - การเคลื่อนย้ายในดิน (mobility in soil)
        - ผลกระทบในทางเสียหายอื่นๆ (other adverse effects)
  13. ข้อพิจารณาในการกำจัด (Disposal considerations)
        - อธิบายถึงกากของเสีย (waste residues) และข้อมูลการขนถ่าย เคลื่อนย้าย อย่าง

        ปลอดภัย รวมทั้งวิธีการกำจัดที่เหมาะสม และการกำจัดบรรจุภัณฑ์ ที่ปนเปื้อน
  14. ข้อมูลการขนส่ง (Transport information)
         - หมายเลขสหประชาชาติ (UN number)
         - ชื่อที่ถูกต้องในการขนส่งของสหประชาชาติ (UN proper shipping name)
         - ประเภทความเป็นอันตรายสำหรับการขนส่ง (transport hazard class)
         - กลุ่มการบรรจุ (packing group) (ถ้ามี)
         - มลภาวะทางทะเล (marine pollutant) (มี หรือ ไม่มี)
         - การขนส่งด้วยภาชนะขนาดใหญ่ (ให้เป็นไปตาม Annex II ของ MAROL 73/78 และ 

         IBC Code)
         - ข้อควรระวังพิเศษที่ผู้ใช้จำเป็นต้องตระหนักหรือจำเป็นต้องปฏิบัติตาม ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ

         การขนส่งหรือการบรรทุก ทั้งภายในหรือภายนอกสถานประกอบการ   
  15. ข้อมูลด้านกฎข้อบังคับ (Regulatory information)
         - ให้ระบุกฎระเบียบทางด้านความปลอดภัย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม เป็นการเฉพาะกับ

        ผลิตภัณฑ์
  16. ข้อมูลอื่นๆ รวมทั้งข้อมูลการจัดทำและการปรับปรุงแก้ไขเอกสารข้อมูลความปลอดภัย
        (Other information)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น