แนะนำ (RECOMMENDATION)

ใครอยากได้เนื้อหาเกี่ยวกับอะไรที่เกี่ยวข้องกับ ความปลอดภัย และงานสิ่งแวดล้อม ฝากข้อความไว้ได้ในหน้า แนะนำ ติชม นะคะ จะพยายามมาอัพข้อมูลให้ค่ะ

สถานที่เก็บรักษาสารเคมี

สาระสำคัญของอาคารเก็บรักษาสารเคมี 5 อย่าง
1. สถานที่ตั้งของอาคาร
     - ห่างจากบริเวณที่มีประชาชนอาศัยอยู่
     - ห่างจากแหล่งน้ำดื่ม
     - แหล่งน้ำท่วมถึง
     - สะดวกในการขนส่ง
     - สามารถเข้าถึงได้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
2.  ผนังอาคาร
     - ด้านนอก
         - ต้องแข็งแรง ปิดด้วยเหล็ก หรือ แผ่นโลหะ เพื่อป้องกันไฟที่อาจเกิดขึ้นนอกอาคาร
         - มีพื้นที่ว่างบริเวณแนวกำแพงหรือรั้วสำหรับแยกเก็บสารเคมีที่หกรั่วไหล
         - ต้องออกแบบให้ มีพื้นที่ว่างพอที่จะสามารถเคลื่อนย้าย ขนถ่ายสารเคมีได้อย่างปลอดภัย
     - ด้านใน
        - ออกแบบให้เป็นกำแพงกันไฟทนไฟได้นาน  60 นาที และมีความสูงขึ้นไปเหนือหลังคา  1 เมตร                หรือ วิธีการอื่นๆ  ที่สามารถป้องกันการลุกลามของไฟได้
           ** วัสดุที่เหมาะสมต่อการทนไฟ และมีคุณสมบัติแข็งแกร่งทนทาน คือ คอนกรีต อิฐ
                 หรืออิฐบล็อก คอนกรีตเสริมเหล็ก ควรมีความหนาอย่างน้อย 15 เซนติเมตร หรือ  6 นิ้ว
                 และกำแพงต้องหนาอย่างน้อย  23 เซนติเมตร หรือ 9 นิ้ว จึงสามารถทนไฟ
                 ถ้าเป็นอิฐกลวงไม่เหมาะสมที่จะใช้คอนกรีตธรรมดา ต้องมีความหนาอย่างน้อย 30 เซนติเมตร                  หรือ 12 นิ้ว เพื่อให้เกิดความแข็งแกร่งและทนทาน
                เพื่อให้โครงสร้างมั่นคงแข็งแรงต้องมีเสาคอนกรีตเสริมเหล็กในผนังกันไฟ
           ** วัสดุที่ใช้เป็นฉนวนของอาคารเป็นชนิดที่ไม่ติดไฟ เช่น เส้นใยโลหะ หรือใยแก้ว
3. พื้น และการระบายน้ำ
    - พื้นอาคารต้องไม่ดูดซับของเหลว
    - พื้นอาคารต้องเรียบ ไม่ลื่น ไม่มี รอยแตกร้าว ทำความสะอาดได้ง่าย
    - พื้นอาคารต้องออกแบบให้สามารถเก็บกักสารเคมีที่หกรั่วไหล และน้ำจากการดับเพลิงได้
       โดยวิธีการทำขอบธรณีประตูหรือขอบกั้นโดยรอบ
    - ส่วนการระบายน้ำ ต้องออกแบบเป็นระบบปิด และต้องเป็นชนิดไม่ติดไฟ
       เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากสารเคมีที่หกรั่วไหล และน้ำจากการดับเพลิงไหลลงสู่แหล่งน้ำ        
       สาธารณะ ท่อระบายน้ำฝนต้องอยู่นอกอาคาร
4. หลังคากับการระบายอากาศ
     - วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างหลังคาไม่จำเป็นต้องใช้ชนิดป้องกันไฟพิเศษ แต่ก็ไม่ควรใช้ไม้
        เพราะมีความเสี่ยงต่อการลุกลามของไฟ โครงสร้างที่รองรับหลังคาต้องทำด้วยวัสดุไม่ติดไฟ
       ใช้ไม้เนื้อแข็งได้ เมื่อวัสดุที่ใช้มุงหลังคาไม่ไวไฟ เพราะคานไม้ให้ความแข็งแกร่ง
       โครงสร้างนานกว่าคานเหล็กเมื่อเกิดเพลิงไหม้
    - วัสดุที่ ใช้มุงหลังคาอาจเป็นวัสดุที่ มีน้ำหนักเบาและยุบตัวได้ง่าย เมื่อเกิดเพลิงไหม้ เพื่อช่วยการ
       ระบายควันและความร้อนออกไปได้ แต่ ถ้าหลังคาสร้ างแข็งแรงต้องจัดให้มีช่องระบายอากาศ
       เพื่อให้มีการระบายควัน  และความร้อนอย่างน้อย 2% ของพื้นที่หลังคา
    - การระบายอากาศอย่างเพียงพอ จะเกิดขึ้นเมื่อช่องระบายอากาศ อยู่ในตำแหน่งบนหลังคา
       หรือผนังอาคารในส่วนที่ต่ำลงมาจากหลังคา และบริเวณใกล้พื้น
   
5. ประตูกันไฟและทางออกฉุกเฉิน
    - ทางออกฉุกเฉินต้องทนไฟได้ เช่นเดียวกับประตูกันไฟด้านในของประตูกันไฟ
       ต้องมีคุณสมบัติทนไฟเหมือนผนังอาคารและสามารถปิดได้โดยอัตโนมัติ
       เช่น มีข้อลูกโซ่ ชนิดหลอมละลายได้ ซึ่งจะถูกกระตุ้นโดยอัตโนมัติจากระบบตรวจจับควันไฟ
       และประตูจะปิดอัตโนมัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้ และต้องมีพื้นที่ว่างเพื่อให้ปิดประตูได้ ห้ามมีสิ่งกีดขวาง
   - ทำเครื่องหมายทางออกฉุกเฉินให้เห็นชัดเจน
   -  ทางออกฉุกเฉินต้องเปิดออกได้ง่ายในความมืดหรือเทื่อเมื่อมีควันหนาทึบ
   -  ต้องมีอย่างน้อย 2 ทิศทาง
 
         
       
                     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น