การประเมินความเครียดจากการทำงานมีหลายวิธี ดังนี้
1. การเขียนรายงานด้วยตัวเอง
ใช้แบบสอบถาม หรือ การสัมภาษณ์ เป็นวิธีที่ยุ่งยากซับซ้อน และนิยมใช้กัน
โดยให้ผู้ประกอบอาชีพเรียบเรียงเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ความถี่ที่เกิดขึ้น
สิ่งต่างๆ ที่กระตุ้นทำให้เกิดความเครียด เช่น ความต้องการของผู้ประกอบอาชีพ,
ความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์ต่างๆ
2. การสังเกตพฤติกรรม
เป็นการวัดเพื่อประเมินพฤติกรรมความเครียดที่มีผลต่อร่างกายและจิตใจ
จนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม เช่น ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ซึมเศร้า
3. หน้าที่ในการทำงานของร่างกายและชีวเคมี
เป็นวัดเพื่อการประเมินเกี่ยวกับความเครียดที่กระตุ้นทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา
เช่น การวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต การวัดการกระตุ้นของกล้ามเนื้อโดยใช้เครื่อง วัดความต่างศักย์ของกล้ามเนื้อ (EGM) การวัดความเครียดด้วยวิธีวัดคลื่นสมอง (EEG)
โดยประเมินจากกราฟ
4. ใช้แบบการประเมินความเครียด
เป็นแบบวัดความเครียด มีหลายลักษณะ เช่น แบบประเมินของกรมสุขภาพจิต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น