2. กรรมการระดับบังคับบัญชานายจ้างเป็นผู้แต่งตั้ง แต่กรรมการผู้แทนลูกจ้างให้นายจ้างคัดเลือกตามประกาศ
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งกรรมการผู้แทนลูกจ้าง ลงวันที่ 22 ส.ค. 49
3. กรณีที่ต้องการเพิ่มจำนวนกรรมการฯ จะต้องเพิ่มกรรมการระดับบังคับบัญชาและกรรมการผู้แทนลูกจ้าง
ในจำนวนที่เท่ากัน โดยกรรมการอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี แต่อาจได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกตั้งใหม่ได้
4. การแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันก่อนวันที่กรรมการครบวาระ และให้
กรรมการใหม่ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่กรรมการชุดเดิมครบวาระ กรณีไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน
ให้กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน จนกว่ากรรมการชุดใหม่จะเข้ามารับหน้าที่
กรณีมีกรรมการผู้แทนบางระดับว่างลง ให้กรรมการที่แทนตำแหน่งที่ว่างอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่ากับวาระ
ที่เหลืออยู่
5. ให้นายจ้างเผยแพร่และปิดประกาศรายชื่อและหน้าที่รับผิดชอบของคณะกรรมการโดยเปิดเผย ณ สถานประกอบ
กิจการ เพื่อให้ลูกจ้างทราบ โดยให้ปิดไว้อย่างน้อย 15 วัน
6. นายจ้างต้องจัดให้คณะกรรมการความปลอดภัยฯ ได้รับการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ตามกฎหมายภายใน 60 วัน
นับแต่วันที่แต่งตั้งหรือเลือกตั้ง ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ของประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และ
วิธีการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 9 พ.ย. 2549
7. คณะกรรมการความปลอดภัยฯ ต้องประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมีกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งร้องขอ
การเข้าร่วมประชุมและการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการถือว่าเป็นการทำงานให้แก่นายจ้าง โดยได้รับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา
ค่าทำงานในวันหยุดหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดแล้วแต่กรณี
8. ให้นายจ้างปิดประกาศมติของที่ประชุมคณะกรรมการฯ ไว้ในที่เปิดเผยเพื่อให้ลูกจ้างทราบ ภายใน 7 วัน
นับแต่วันประชุม
9. ให้นายจ้างพิจารณาและดำเนินการตามมติหรือข้อเสนอแนะของคณะกรรมการที่ประธานกรรมการเสนอ
โดยมิชักช้า ทั้งนี้ มติหรือข้อเสนอแนะดังกล่าว ต้องมีเหตุผลอันสมควรและสอดคล้องกับมาตรฐาน
ที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับ
10. เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือภยันตรายใดๆ ที่อาจเป็นเหตุให้ลูกจ้างหรือบุคคลภายนอก สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ
หรือเสียชีวิต ให้นายจ้างเรียกประชุมคณะกรรมการโดยมิชักช้า เพื่อดำเนินการทบทวนรายงานการสอบสวนอุบัติเหตุ
รวมทั้งเสนอแนะแนวทางป้องกันแก้ไขต่อนายจ้าง
11. นายจ้างต้องจัดทำสำเนาบันทึก รายงานการดำเนินงาน หรือรายงานการประชุมเกี่ยวกับการดำเนินการของ
คณะกรรมการความปลอดภัยฯ เก็บไว้ในสถานประกอบกิจการเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี นับแต่วันจัดทำ
และพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบ
12. นายจ้างต้องสนับสนุนและส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการ ทำงาน
ทั้งในหน้าที่ประจำและหน้าที่ในฐานะกรรมการและไม่กระทำการใดอันอาจเป็นผลให้กรรมการหรือ
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น